Administrator
E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
โปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8
เนื่องจากคุณสมบัติของโปรแกรมที่มีความสะดวกต่อการใช้งาน มีฟังก์ชันที่ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดวางข้อความ รูปภาพ ตาราง ฟอร์ม วิดีโอ รวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ภายในเว็บเพจได้อย่างสวยงามตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยไม่ต้องใช้ภาษาสคริปต์ที่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนก่อน ด้วยความสามารถและคุณสมบัติของโปรแกรม จึงเหมาะสำหรับนักเรียน
คุณสมบัติและข้อดีของโปรแกรม Dreamweaver
1) ช่วยให้คุณทำงานได้เร็วขึ้น
นี่คือข้อดีอันดับต้นๆของ Dreamweaver เลยก็ว่าได้ เมื่อก่อนนั้นถ้าเราต้องการสร้างเว็บเพจ เราจะต้องเขียนภาษา HTML ขี้นมาเพื่อให้แสดงผลผ่าน browser เป็นรูปภาพหรือข้อความออกมา ซึ่งทำให้เราทำงานได้ช้าลง เพราะเราจะต้องเขียน HTML ไปและดูการแสดงผลผ่าน browser ไปว่าให้ผลถูกต้องตามที่เราต้องการหรือไม่ แต่สำหรับใน Dreamweaver โปรแกรมจะแสดงหน้าจอที่แสดงผลให้เราสามารถปรับแต่งหน้าตาของเว็บเพจของเรา ได้เลย โดย Dreamweaver จะทำการเขียน HTML ให้เราเอง
2) เป็น Editor ที่มีประสิทธิภาพตัวหนึ่ง
ในกรณีทีเราต้องการเขียน HTML เอง Dreamweaver ก็เป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้เราได้ดีมาก ไม่เพียงแต่การใช้การกับ HTML เท่านั้น Dreamweaver ก็รองรับภาษาต่างมากมายเช่น CFML, PHP, ASP, ASP.NET และอื่นอีกมากมาย ช่วยให้เราสามารถเขียน Code ได้ง่ายขึ้น
3) เป็นโปรแกรมจัดการเว็บไซต์ที่ดี
Dreamweaver ยังเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เราจัดการกับเว็บไซต์ของเราได้ดีขึ้น โดยมีเครื่องมือมากมาย เช่น
1. FTP เราสามารถแก้ไขหน้าเว็บเพจของเราและส่งไปแสดงผลที่ server ได้ทันที เพราะ dreamwerver จะติดต่อกับ server ให้เราและแสดงไฟล์ของเราที่อยู่ใน server ให้เราเห็นและแก้ไขได้ทันที่ที่เราต้องการถือเป็นเครื่องมือที่สะดวกมาก นอกจากนั้นยังช่วยให้เรามีข้อมูลของเว็บไซต์ของเราสำรองไว้ในเครื่องเราตลอด ด้วย
2. Site map เป็นเครื่องมือที่ช่วยแสดงผลเว็บไซต์ของเราให้เป็น รูปร่างขึ้นมา โดยจะแสดงให้เห็นว่าหน้าใด link ไปยังหน้าใดบ้าง โดยเราสามารถย้ายหรือ เปลี่ยนแปลง link ได้ โดยที่ Dreamweaver จะทำการเขียน Code ให้เราใหม่ทันที ถือเป็นเครื่องมือที่ดีมาก เพราะความจริงแล้วเราต้องแก้เว็บเพจของเราตลอด
4) ช่วยให้เราทำเว็บได้ง่ายขึ้น
สำหรับคนที่ไม่เคยทำเว็บมาก่อนก็สามารถใช้ Dreamweaver เพียงโปรแกรมเดียวเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมาได้ง่ายเหมือนกับการ เขียนหนังสือ และสำหรับคนที่เชี่ยวชาญ Dreamweaver ก็ทำให้เรามีความคล่องตัวขึ้นเพราะตอนนี้ Dreamwerver มีเครื่องมือมากมายและทำงานเชื่อมต่อกับโปรแกรมดังๆมากมายเช่น Photoshop,Illustrator,Flash หรือแม้แต่กระทั่งการใช้ในลักษณะ Dynamic webpage ก็พัฒนาขึ้นมาก จะเห็นว่าใน Dreamweaver CS3 นั้นมีการใช้งานในส่วนของ Ajax เพิ่มมาอีกด้วยรวมถึงการใช้งาน CSS ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาก นี่ยังไม่รวมถึง Template มากมายที่ช่วยในการจัดข้อความ ,หน้าตาของเว็บเพจ และเครื่องมืออีกมากมาย
ในบทความนี้คงทำให้มองภาพของ Dreamwerver ว่าเป็นเครื่องมือที่อำนวนความสะดวกมากจริงๆ ถ้าลองใช้ดูจะเห็นได้ว่า Dreamweaver นั้นพัฒนาไปมากจากเวอร์ชันแรกๆที่ออกมา และช่วยลดเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ลงได้มาก
การเปิดใช้งานโปรแกรมสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม ดังนี้ เรียกผ่านปุ่ม Start มีวิธีทำ คือ
จากภาพด้านบน อธิบายตามหมายเลขดังนี้
2.เลือกประเภทงานที่ต้องการสร้างใหม่ ได้แก่ HTML , Coldfusion, PHP ASP ,JavaScrip ฯลฯ
3.เลือกงานตามฟอร์มที่โปรแกรมจัดไว้ให้โดยมีรุปแบบให้เลือกหลายประเภท
2. Menu Bar คือ ส่วนที่รวมคำสั่งการทำงานทั้งหมด แล้วแบ่งย่อยตามประเภทและในคำสั่งหลักมักจะมีเมนูลัดให้กดด้วย
3.Object Palette คือ แถบแสดงปุ่มต่างๆของโปแกรม
4.Toolbar คือ แถบเครื่องมือสำหรับการใช้งานด้าน HTML และอินเตอร์เน็ท ประกอบด้วย
Show Code View แสดงการทำงานในรูปแบบ HTML
Show Code and Design Views แสดงการทำงานแบบ HTML ควบคู่กับแสดงพื้นที่ออกแบบ
Document Title ตั้งชื่อของเว็บเพจ
Check Errors ตรวจสอบข้อผิดพลาดจาก Browser
File Management จัดการกับไฟล์ๆ ที่อยู่ในเว็บเพจ
Preview / Debug in Browser ทดลอง ดูเว็บเพจทาง Browser หรือกด F12
View Options มุมมองในการทำงานเพิ่มเติม
5.หน้าต่างออกแบบเว็บเพจ ใช้พิมพ์ข้อความและจัดเรียงรูปภาพ
6.Tag Selector ใช้ควบคุมการทำงานในรูปแบบ HTML
7.Window Size กำหนดพื้นที่ใช้งานตามต้องการ
8.Estimate Download Time แสดงเวลา ที่ใช้ในการดาวน์โหลด
9.Properties ใช้กำหนดรูปแบบต่างๆ ของตัวอักษร และรูปภาพ รวมถึงการสร้างลิงค์
หรือคลิกที่ Window > properties ก็ได้เช่นกัน
10. Dockable Window เปิดหน้าต่างที่รวบรวมเครื่องมืออำนวยความสะดวกเอาไว้ โดยคลิกที่ เพื่อเปิด-ปิดได้ เช่นเดียวกับ Properties
:: วิธีการสร้างตาราง (Table) ::
VDO :: การสร้างตารางในการจัดโครงสร้างเว็บไซต์
เรามาดูวิธีทำกันดีกว่า ง่ายมากๆค่ะ
การนำเสนอข้อมูลบางอย่างจำเป็นต้องใช้ตาราง เพื่อที่จะให้ข้อมูลที่นำเสนอไปนั่นเข้าใจง่าย เรามีวิธีการสร้างง่ายๆดังนี้
1.วางเคอร์เซอร์ไว้ตรงบริเวรที่ต้องการ
2.คลิกปุ่ม ที่แถบเครื่องมือ Insert
3.คลิกปุ่ม
4.จะมีหน้าต่างคุณสมบัติของตารางขึ้นมา ให้กำหนดค่าต่างๆของตารางตามต้องการ
5.คลิกที่ปุ่ม
6.จะได้ตารางที่พร้อมสำหรับใช้งานแล้ว
วิธีปรับแต่งตารางเพิ่มเติม
- การปรับแต่งตาราง
- วิธีพิมพ์ข้อความลงในตาราง
- วิธีการจัดการเกี่ยวกับตาราง
- วิธีการนำรูปภาพมาตกแต่งตาราง
- วิธีการเปลี่ยนสีตาราง
อ้างอิงจาก : http://school.obec.go.th/buabanwit/
:: วิธีนำรูปภาพมาใส่ในเว็บ ::
เรามาดูวิธีทำกันดีกว่า ง่ายมากๆค่ะ
1.คลิกวางเคอร์เวอร์ตรงบริเวณที่เราต้องการจะวาง
2.คลิกที่ปุ่ม ไอคอน Images >> Image หรือ คลิกที่เมนูบาร์ Insert >> Image
3. เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ
4.คลิกปุ่ม OK
5. มีข้อความเตือนให้ save ก่อน ให้คลิก OK
วิธีปรับแต่งรูปภาพเพิ่มเติม
- วิธีปรับขนาดรูป
- วิธีการเขียนข้อความอธิบายรูป
- วิธีใส่รูปภาพที่พื้นหลัง
- วิธีใส่กรอบให้กับรูปภาพ
- วิธีปรับระยะห่างของรูปแบบละเอียด
- วิธีการจัดรูปแบบทั่วไป
- วิธีการจัดรูปภาพประกอบข้อความ
- วิธีการทำ Tracing Image
อ้างอิงจาก : http://school.obec.go.th/buabanwit/
การสร้างหมวดหมู่สินค้าบน joomla virtuemart
อันดับ แรกในการที่เราจะเปิดร้านขายของออนไลน์นั้นคงจะต้องทำการสร้างหมวดหมู่หรือ category ของสินค้าที่เราจะขายกันก่อน เพื่อเป็นการแบ่งประเภทของสินค้าต่างๆให้ถูกต้อง จะทำให้เราดูแลจัดการได้ง่ายขึ้นรวมทั้งลูกค้าเราก็สามารถเลือกสินค้าได้ตรง กับความต้องการมากที่สุด สมมติถ้าเราขายสินค้าหลากหลายประเภทก็สมควรทำอย่างยิ่งครับพี่น้อง จะได้ดูไม่มั่วจนเกินไป เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นผมจะทำการขายสินค้าอุปกรณ์ึคอมพิวเตอร์ต่างๆละกัน มี cpu , การ์จอ , mainboard , ram , case ผมก็จะแบ่งตามนี้ โดยให้เราไปที่หน้า backend ของ virtuemart กันก่อนครับจากนั้นไปที่ สินค้า >> ประเภทสินค้า จากนั้นก็ให้เรากดปุ่มสร้างใหม่
ใส่ ชื่อหมวดหมู่ลงไป แล้วก็ใส่รายละเอียดของหมวดหมู่ ในหัวข้อหมวดหลักให้เลือก default top level เพราะเป็นการสร้างหมวดหมู่ใหม่และเรายังมีแค่อันเดียว แต่ถ้าเราต้องการสร้างหมวดหมู่ย่อยลงมาอีกก็ให้ทำการเลือกได้ครับ หลังจากที่เราสร้างหมวดหมู่หลักแล้ว
เรามาดูในส่วนของรูปภาพกัน ในส่วนนี้สามารถใส่รูปภาพให้กับหมวดหมู่ต่างๆของเราได้ครับ ถ้ากำหนดค่าต่างๆเสร็จแล้วกดบันทึกเลยครับ
VirtueMart คืออะไร
VirtueMart เป็นระบบ Shopping Cart ที่เอาไว้ขายของบน Internet แล้ว Shopping Cart คืออะไรละ ก็คืิอซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนรถเข็นสินค้าที่ลูกค้าใช้ระหว่างการ เลือกสินค้าบนเว็บไซต์ เป็นตัวเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้าทุกชิ้นที่ลูกค้าเลือกไว้แล้ว เช่น รหัสสินค้า ราคา และจำนวนสินค้า ในระหว่างที่ลูกค้ากำลังเลือกสินค้าอื่น ๆ อยู่ หรือ กำลังรอชำระเงิน เขียนมาซะยืดยาวผมก็ขอสรุปโดยพอสังเขปแล้วกันว่า VirtueMart เป็น commponent ของ joomla เพื่อเปลี่ยนให้เว็บไซค์ joomla ธรรมดาๆกลายร่างมาเป็นเว็บไซค์ขายของนั่นเอง
Featrues
- จัดการจำนวนสินค้าและหมวดหมู่ได้ไม่จำกัด
- มีระบบ web administrator (Backend)
- สามารถนำเข้าหรือเอาออกไฟล์สินค้า่ในรูปแบบ CVS ได้
- ใส่รูปภาพหรือไฟล์ให้กับสินค้าได้
- ใส่รายละเอียดให้กับสินค้าของคุณ
- การจัดการระบบลูกค้า
- ระบุราคาให้กับตัวสินค้าได้(อันนี้ขาดไม่ได้เลย)
- เก็บและรวบร่วมสถิติ
- การจัดการระบบสต็อกสินค้า
- ระบบเตือนลูกค้าของเราเมื่อมีสินค้าอยู่ในสต็อก
- และอื่นๆอีกมากมายเยอะแยะไปหมด
เว็บไซค์หลักของ VirtueMart
http://virtuemart.net/ | เราสามารถติดตตามข้อมูลข่าวสารและดาวโหลด module หรือ plugin ต่างๆเพื่อเสริมให้ virtualmart ของเราได้จากเว็บหลักของผู้พัฒนาได้ครับ
การติดตั้ง
โดยหลักๆ VirtueMart สามารถทำการติดตั้งได้ 2 วิธี
- Manual Installation Packages อันนี้เราต้องมี joomla อยู่ก่อนแล้ว เราจึงมาทำการติดตั้ง VirtueMart และตัวเสริมต่างๆเอง
- Complete Packages ตัวนี้จะเป็นแบบ full version ก็คือว่าเมื่อติดตั้ง joomla ลงก็จะมาพร้อมกับ VirtueMart และตัวเสริมต่างๆให้พร้อมแล้วเสร็จ ซึ่งเขาจะเรียกว่า VirtueMart eCommerce Bundle มันก็คือ joomla + VirtueMart นั่นเอง
ตั้งค่ารายละเอียดร้านค้าของเราบน joomla virtuemart
หลัง จากเราได้ทำการติดตั้ง joomla eCommerce editon หรือ virtuemart ไปแล้วก็จะเป็นการตั้งค่าเบื้องต้นเกี่ยวกับร้านค้าเราน่ะครับ ซึ่งจะเป็นรายละเอียดคร่าวๆ ไว้สำหรับเวลาลูกค้าต้องการดูรายละเอียดของเราจากหน้าสินค้า ( รายละเอียดผู้เขาย) และรวมถึงการกำหนด สกุลเงิน สัญลักษณ์ และรูปแบบการแสดงค่าบวก ลบ สามารถใส่รายละเอียดและข้อตกลงต่างๆได้
ให้เข้ามาที่หน้า backend ของเราครับจากนั้นไปที่เมนู Commponents >> VirtueMart
จาก นั้นเรามาดูในส่วนของโครงสร้างของ virtuemart ก่อนอันนี้แล้วแต่คนชอบนะครับว่าถนัดการใช้งานแบบไหน เพราะหน้านี้เราจะต้องเข้ามาบ่อยมากๆ ใน 2 โครงสร้างให้เลือกปรับ
1. โครงร่างแบบง่าย
2. โครงร่างแบบขยาย
จากนั้นให้ไปที่เมนู ร้านค้า >> ตั้งค่าร้านค้า
ในหน้านี้เราสามารถตั้งที่อยู่ของร้านค้า สกุลเงิน รายละเอียดติดต่อ รายละเอียดร้านค้า ร่วมทั้งใส่ข้อตกลงและรายละเอียดต่างๆได้ ตั้งค่าต่างๆจากนั้นกดบันทึกออกมา
จุมล่าคืออะไร "จุมล่า" เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ที่เรียกกันในชื่อ CMS (Content Management System) มีซอฟต์แวร์ Open Source มีลิขสิทธิ์แบบ GPL ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้งใช้งานได้ฟรี ในการใช้งาน Joomla! ผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีมความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรมก็สามารถสร้างเว็บไซต์ ได้ระบบมืออาชีพ
การสร้างสินค้าบน virtuemart
ขั้นตอนต่อไปก็ เป็นการสร้างสินค้าที่เราจะนำมาขายกันน่ะครับ เพื่อที่จะนำมาแสดงผลบนหน้าเว็บไซค์ของเราให้ลูกค้าชมสินค้าต่างๆของเรา เหมือนกับเดิน shopping บนห้างสรรพสินค้า แต่อันนี้จะเป็นการนั่งชมสินค้าบนคอมพิวเตอร์ อะไรจะสบายขนาดนั้นฮาๆเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
ให้ไปที่หน้า backend ของ virtuemart ครับจากนั้นเลืิอกที่เมนู สินค้า >> เพิ่มรายการสินค้า
เรามาดูส่วนแรกกันก่อนครับ
- เผยแพร่ : กำหนดให้แสดงสินค้าตัวนี้หรือไม่ (ติ๊กถูกคือเผยแพร่)
- รหัสสินค้า : ให้เรากำหนดรหัสของสินค้านะครับ โดยจะต้องไม่ซ้ำกัน เช่น ของผม
- ชื่อ : ใส่ชื่อของสินค้า
- เว็บไซต์ : เว็บไซท์ของสินค้าหรือที่เกี่ยวข้อง (ไม่ต้องใส่ก็ได้ครับ เพราะเราอาจจะอ้างอิงจาก โรงงานได้)
- ผู้ขาย : โดยปกติก็จะเป็นเว็บเราเองอยู่แล้วนะครับ
- โรงงาน : ให้เราเลือกผู้ผลิตหรือโรงงาน ของสินค้าเช่น HP Acer เป็นต้น (เราต้องสร้างมาก่อนนะครับ)
- หมวดสินค้า : ให้เรากำหนดหมวดหมู่ของสินค้าว่าอยู่ในหมวดหมู่ใหน ซึ่งเราสามารถกำหนดได้มากกว่า 1 หมวดหมู่โดยคลิก Ctrl ค้างไว้นะครับ
ส่วนที่สองครับ
- ราคาสินค้า (net) : ราคาจริงของสินค้า (ไม่รวมภาษี)
- ราคาสินค้า (gross) : ส่วนนี้จะถูกสร้างขึ้นมาเองโดยการนำ ราคาสุทธิรวมกับภาษีนะครับ ไม่ต้องกรอกลงไป
- รหัสภาษี : ภาษีที่เราใช้กับสินค้าครับ (ได้มาจากหน้าที่เราทำการเพิ่มภาษีลงไป)
- ประเภทส่วนลด : เป็นส่วนลดที่เรากำหนดขึ้นมาจากหัวข้อ สินค้าลดราคา
- ลดราคา : เป็นราคาที่ถูกสร้างขึ้นเองโดยเอา ราคาสินค้า (ยอดรวม)มาลบกับ ประเภทส่วนลด ครับ ไม่ต้องกรอกลงไป
- รายละเอียดย่อ : เป็นรายละเอียดโดยย่อของสินค้าเรานะครับ
ส่วนที่สาม ส่วนนี้จะเป็นการกรอกรายละเอียดที่เหลือลงไป เป็นการเจาะลึกของสินค้าของเราที่จะขายนะครับ สามารถใส่รูปภาพประกอบได้ด้วย
ต่อมาเราก็ใส่รูปภาพให้กับสินค้ากันโดยกดที่แท็บภาพถ่ายสินค้า เลือกรูปภาพสินค้าครับ จากนั้นติ้กให้มันสร้าง thumbnail เอง
จาก นั้นบันทึกรายการสินค้าเลยครับ เพียงเท่านี้ก็จะได้สินค้าอยู่มาอยู่บนเว็บเราแล้วครับ ส่วนรายละเอียดอื่นจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไปครับผม
“Joomla!” โปรแกรม open source ที่เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Web Content Management Systems: CMS) ซึ่งถูกพัฒนาด้วย PHP และใช้ฐานข้อมูลของ MySQL ในการเก็บข้อมูล มีเทคนิคการเขียนโปรแกรมขั้นสูงภายใต้มาตรฐาน XHTML สามารถทำงานได้หลายแพลตฟอร์มที่รองรับ PHP และ mySQL ทั้งนี้ Joomla! ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทีมพัฒนาที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยระยะเริ่มต้น Joomla! ได้มุ่งเน้นเพื่อใช้ในการพัฒนา Coporate Website หรือเว็บไซต์ของบริษัทและองค์กรต่างๆ รวมไปถึงเว็บ Intranet ภายในหน่วยงาน โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ความสวยงามของรูปแบบที่ดูเป็นสากล รวมถึงความง่ายต่อการใช้งานของทั้งผู้พัฒนาและผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งให้ความรู้สึกแตกต่างจาก CMS ทั่วไป ตรงที่คุณสามารถออกแบบและสร้างหน้าตาของเว็บไซต์ (Template) ได้ตามต้องการ
CMS Joomla! จะแบ่งเว็บไซต์ออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือ
- Frontend คือส่วนที่แสดงผลให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือก็คือหน้าเว็บไซต์นั่นเอง
- Backend คือส่วนการจัดการเนื้อหารวมถึงโครงสร้างของเว็บไซต์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าส่วน Admin
ประสิทธิภาพและความสามารถของ Joomla!
ประโยชน์ หลักของ “Joomla!” คือ การทำให้คุณสามารถจัดการกับเนื้อหาหรือข้อความ (Content) ได้โดยตรงผ่านหน้าเว็บ โดยผู้บริหารเว็บหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโปรแกรมเช่น HTML ในการอัพเดทเว็บ เพราะ Joomla! มี editor ออนไลน์ เช่น WYSIWYG editor ไว้เพื่อการจัดรูปแบบข้อความตัวอักษร (Text) และรูปภาพ ยิ่งกว่านั้นคุณไม่จำเป็นที่ต้องอัพโหลดเอกสารด้วยโปรแกรม FTP เพียงแค่คลิกปุ่ม save หรือ apply หน้าเว็บของคุณก็จะออนไลน์เตรียมพร้อมรับผู้เข้าชมที่จะเข้ามาดูในเว็บของ คุณได้ทันที
joomla เป็น CMS ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ เพราะมีระบบการจัดการเนื้อหาที่มีรูปแบบสากล การปรับแต่งหน้าตาของเว็บไซต์ทำได้ง่าย เพราะ joomla ถูกออกแบบมาให้รองรับกับเทคโนโลยีการ ออกแบบเว็บไซต์ สมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ Flash หรือ GIF Animation นอกจากนี้คุณยังสามารถ Download template ได้อย่างมากมายมีทั้งแบบที่สามารถนำมาใช้งานได้ฟรี (โดยให้เครดิตผู้สร้างนิดหน่อย เช่น ไม่ลบชื่อทีมพัฒนา template นั้นออกจาก template เป็นต้น) หรือหากต้องการ template ที่มีประสิทธิภาพ และมีความสวยงาม ก็สามารถหาซื้อมาใช้ได้ เพราะมีเว็บไซต์ที่ให้บริการจัดทำ template ของ joomla อยู่มากมาย จุดเด่นของ joomla อีกจุดหนึ่งก็คือมี Extension จำนวนมากให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน เช่น component, module, Plugin มีทั้งแบบฟรี และแบบต้องชำระเงิน สำหรับเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ joomla คือ http://www.joomla.org เป็นศูนย์รวมข่าวสารการ Update joomla และคุณสามารถ download joomla และ extension ต่าง ๆ ได้จากที่นี่
joomla มีการ Update อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าการ ออกแบบเว็บไซต์ ด้วย CMS joomla จะมีความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบัน (ตุลาคม 2553) เป็นรุ่น 1.5.21 และที่สำคัญที่สุด joomla รองรับภาษาไทย 100% เพราะมีทีมงานที่คอยดูแลเรื่องภาษา ทำให้เราไม่ต้องมากังวลกับการใช้งานภาษาไทยว่าจะผิดเพี้ยนในส่วนใดหรือไม่ และในขณะนี้ Team ผู้พัฒนา joomla กำลังร่วมกันพัฒนา joomla รุ่นใหม่ คือ joomla 1.6 ซึ่งในขณะนี้ก็ใกล้จะได้ใช้งานกันในเวลาอันใกล้นี้
สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ สำหรับการใช้งาน joomla
สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน joomla แล้วเกิดปัญหานั้นส่วนใหญ่ ไม่ได้มาจากตัวของ joomla แต่มักจะมีปัญหากับ PHP, MySql, เวอร์ชั่นเก่า ทำให้เกิดปัญหาได้ สำหรับการตรวจเช็คนั้นไม่ยากเลย เพราะในตอนที่ดำเนินการติดตั้งนั้น จะมีหน้าเว็บเพจที่ตรวจสอบว่าสามารถติดตั้ง หรือรองรับได้หรือไม่ หากไม่รองรับให้หาตัวใหม่มาลง เพราะฉะนั้นตอนติดตั้งมักไม่ค่อยเกิดปัญหา แต่จะเกิดปัญหาตอนที่เราติดตั้งตัวเสริมต่าง ๆ (Extension) ซึ่งบางตัวถึงขั้นไม่สามารถใช้งานได้เลย เพราะติดตั้งไปก็จะ error หรือติดตั้งผ่าน แต่พอใช้งานจริงก็จะมีปัญหา สำหรับคุณที่ต้องการติดตั้งบนโฮสติ้ง ก่อนจะใช้บริการก็ควรเช็ครายละเอียดของโฮสติ้งให้ดีว่า PHP, MySql นั้นเวอร์ชั่นใหม่หรือไม่ จะได้เกิดปัญหาน้อยลง
เราสามารถใช้ Joomla! กับเว็บไซต์ได้หลากหลายประเภท เช่น
- เว็บท่า (Portals)
- เว็บไซต์เชิงพาณิชย์ (Commercial web sites)
- เว็บไซต์ที่ใช้ในองค์กร (Intranet web sites)
- เว็บไซต์ที่ไม่แสวงหากำไร (Non-Profit web sites)
- เว็บไซต์ส่วนตัว (Personal web sites)
- เว็บไซต์ที่สร้างจาก Flash (Integrated flash sites)