หน่วยที่ 3) การใช้เครื่องมือใน Toolbox
ประกอบด้วยแผนการสอนทั้ง 5 บท ดังนี้
บทที่ 8 : ชุดเครื่องมือสำหรับเลือกพื้นที่ (Selection) (2 ชั่วโมง)
บทที่ 9 : ชุดเครื่องมือสำหรับการสร้างข้อความ (2 ชั่วโมง)
บทที่ 10 : ชุดเครื่องมือสำหรับการวาดภาพ (2 ชั่วโมง)
บทที่ 11 : ชุดเครื่องมิอสำหรับการรีทัชรูปภาพ (2 ชั่วโมง)
บทที่ 12 : คีย์ลัดของ Photoshop (2 ชั่วโมง)
ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนก่อนเริ่มเรียนในหน่วยที่ 3 จำนวน 10 ข้อ
แล้วจึงเริ่มศึกษาบทเรียนค่ะ ^_^
ในการปรับแต่งแก้ไขภาพกราฟิกด้วย Photoshop สิ่งที่มีความสำคัญและทำกันบ่อยๆคือการ “เลือก”พื้นที่บางส่วนของภาพ เพื่อใช้คำสั่งต่างๆให้แสดงผลเฉพาะพื้นที่ส่วนที่เลือกไว้ การ “เลือก” พื้นที่ใน Photoshop นี้เราเรืยกว่า การสร้าง Selection
Selection ก็คือ การกำหนดขอบเขตของภาพ เพื่อใช้สำหรับการแก้ไข ปรับแต่งภาพ ใส่เอฟเฟ็กต์ให้ภาพ ซึ่งเมื่อสร้าง Selection ขึ้นมาแล้ว ใช้คำสั่งเช่นปรับสี ปรับแสง-เงา หรือใส่ฟิลเตอร์ คำสั่งที่ใช้จะมีผลกับพื้นที่ที่เลือกไว้เท่านั้น และการ Selection ยังใช้แยกพื้นที่บางส่วนออกมาเพื่อใช้ในการตัดต่อภาพได้อีกด้วย
1. บอกความหมายของ Selection ได้
2. เรียนรู้และเข้าใจการใช้งานเครื่องมือสำหรับ Selection ได้
3. เรียนรู้ถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือสำหรับ Selection ในงานกราฟิกได้
การเลือกพื้นที่ภาพ Selection
ในการปรับแต่งแก้ไขภาพกราฟิกด้วย Photoshop สิ่งที่มีความสำคัญและทำกันบ่อยๆคือการ “เลือก”พื้นที่บางส่วนของภาพ เพื่อใช้คำสั่งต่างๆให้แสดงผลเฉพาะพื้นที่ส่วนที่เลือกไว้ การ “เลือก” พื้นที่ใน Photoshop นี้เราเรืยกว่า การสร้าง Selection
Selection ก็คือ การกำหนดขอบเขตของภาพ เพื่อใช้สำหรับการแก้ไข ปรับแต่งภาพ ใส่เอฟเฟ็กต์ให้ภาพ ซึ่งเมื่อสร้าง Selection ขึ้นมาแล้ว ใช้คำสั่งเช่นปรับสี ปรับแสง-เงา หรือใส่ฟิลเตอร์ คำสั่งที่ใช้จะมีผลกับพื้นที่ที่เลือกไว้เท่านั้น และการ Selection ยังใช้แยกพื้นที่บางส่วนออกมาเพื่อใช้ในการตัดต่อภาพได้อีกด้วย
ในโปรแกรม Photoshop คำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง Selection มีอยู่มากมายให้เลือกใช้ ซึ่งให้ผลการ Selection ที่แตกต่างกันไป ตามลักษณะของการใช้งาน
เครื่องมือ ที่เกี่ยวกับ Selection
8.1 เครื่องมือ Marquee Tool
– Rectangular Marquee Tool เป็นการสร้างพื้นที่เป็นรูป สี่เหลี่ยม ถ้ากด Shift ค้างไว้ขณะคลิกลากเม้าส์จะได้รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
– Elliptical Marquee Tool เป็นการสร้างพื้นที่เป็นรูป วงกลมหรือวงรี ถ้ากด Shift ค้างไว้ขณะคลิกลากเม้าส์จะได้รูปวงกลม
– Single Row Marquee Tool เป็นการสร้างพื้นที่เป็นรูป เส้นตรงแนวนอน กว้าง 1 พิกเซล
– Single Column Marquee Tool เป็นการสร้างพื้นที่เป็นรูป เส้นตรงแนวตั้ง กว้าง 1 พิเซล
8.2 เครื่องมือ Lasso Tool
– Lasso Tool เป็นการเลือกแบบอิสระ คือเลือกพื้นที่ในรูปเส้น Free hand ด้วยการคลิกลากเมาส์ให้เป็นวงรอบพื้นที่ที่ต้องการ
– Polygonal Lasso Tool เป็นการเลือกแบบสร้างขอบเป็นเส้นตรงหลายเหลี่ยม ด้วยการคลิกเมาส์เพื่อสร้างรูปหลายเหลี่ยมรอบพื้นที่ที่ต้องการ
– Magnetic Lasso Tool เป็นการเลือกเสมือนมีแม่เหล็กที่ดูดขอบเส้นเข้าหาตำแหน่งที่เลือกโดยอัตโนมัติ
8.3 เครื่องมือ Selection Tool
– Quick Selection Tool เป็นการลบพื้นหลังที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน
– Magic Wand Tool เป็นเครื่องมือเลือกดโดยการเลือกเฉพาะสี
8.4 การตั้งค่าเครื่องมือ Selection
เมื่อคลิกเมาส์จะเป็นการสร้าง Selection ขึ้นใหม่ สร้าง Selection เพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ Selection ก่อนหน้าจะไม่หายไป แต่จะถูกรวมเข้าด้วยกัน
เป็นการสร้าง Selection ใหม่ในพื้นที่ Selection เดิม ด้วยวิธี Intersect จากพื้นที่ Selection ที่กำหนดใหม่และ Selection ก่อนหน้า ที่มีพื้นที่เดียวกัน
Feather ตั้งค่าความเบลอหรือฟุ้งกระจายของขอบ Selection
ใช้กำหนดค่าฟุ้งกระจาย หรือความเบลอที่ขอบของ Selection หลังจากที่ได้เลือกพื้นที่แล้วจะต้องคัดลอก (Copy) ,ตัด (Cut),เคลื่อนย้าย(Move) เพื่อให้เห็นผลการทำงานของ Feather มีหน่วยเป็นพิกเซล โดยจะสามารถกำหนดค่าของ Feather ได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255 pixelยิ่งใช้ค่ามากขอบSelection จะยิ่งฟุ้งกระจายมากทำให้ขอบของภาพที่เลือกดูเบลอ หรือนุ่มนวลขึ้น ออปชั่นนี้จะมีอยู่ในเครื่องมือที่ใช้สร้างSelection ทุกชนิด ยกเว้นเครื่องมือ Magic Wand และ Quick Selectionการกำหนดค่า Feather ทำได้ 2 วิธีคือ
1.กำหนดก่อนสร้าง Selection โดยพิมพ์ค่าลงในช่องหลัง Feather ในออปชั่นบาร์
2.กำหนดหลังสร้าง Selection ให้ใช้คำสั่ง Select > Modify > Feather จะมีไดอะล็อก Feather Selection เปิดขึ้นมา ใส่ค่าที่ต้องการในช่อง Feather Radius แล้วคลิก OK
ตัวอย่าง การ Selection โดยให้มี Feather
Anti-allas ความเรียบของขอบ
เป็นออปชั่นที่ใช้กำหนดให้ขอบของ Selection บริเวณที่เป็นเส้นโค้งหรือแนวเฉียงดูเรียบไม่มีรอยหยักเป็นขั้นบันไดให้เห็นเวลาเราก๊อปปี้ภาพไปใช้งาน
Style ของ Selection ใช้กำหนดวิธีสร้าง Selection แบ่งเป็น 3ประเภท
Normal เป็นการเลือกขนาดของพื้นที่อย่างอิสระ
Fixed Aspect Ratio เลือกแบบกำหนดค่ายืดหยุ่นตามอัตราส่วนความกว้าง : ความสูงที่ได้กำหนดไว้
Fixed Size เลือกพื้นที่โดยกำหนดความสูงความกว้างอย่างตายตัว
Note:
-
กดแป้น Backspace เพื่อลบจุดของการเลือกพื้นที่ออกไปทีละจุด โดยเริ่มจากจุดที่สร้างขึ้นล่าสุด
-
กดแป้น ESC เพื่อยกเลิกทุกจุดของการเลือกพื้นที่ที่กำหนดไว้ทั้งหมด
-
กดแป้น Shift ค้างไว้ขณะที่วาดพื้นที่ตามรูปทรงวัตถุ จะทำให้เกิดการทำมุมฉาก หรือ 45องศาเสมอ
-
กดแป้น Alt ค้างไว้ขณะวาดพื้นที่เลือกขอบเขตวัตถุ จะทำให้ได้รูปวัตถุที่สมบูรณ์ตรงต่อความต้องการ
8.5 เมนู Select
คำสั่งอื่นๆในการจัดการ Selection โปรแกรม Photoshop มีคำสั่งพื้นฐานอื่นๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการ Selection นอกจากที่มีอยู่ใน Optionของเครื่องมือ Selection ชนิดต่างๆ
-
การเลือกพื้นที่ทั้งภาพ ใช้คำสั่ง Select > All ( คีย์ลัด Ctrl+A)
-
การยกเลิก Selection ใช้คำสั่ง Select > Deselect ( คีย์ลัด Ctrl+D ) เส้น Selection 0จะหายไปและพื้นที่ Selection ถูกยกเลิก
-
เรียกคืน Selection ใช้คำสั่ง Select > Reselect ใช้เรียก Selection สุดท้ายที่ถูกยกเลิกไป
-
การขยาย Selection ใช้คำสั่ง Select > Modify > Expand ขยายพื้นที่รอบ Selection เดิมออกไปโดยกำหนดค่าการขยายเป็นPixels
-
การลดขนาด Selection ใช้คำสั่ง Selection > Modify > Contract ลดพื้นที่รอบ Selection เดิมลงโดยกำหนดค่าเป็น Pixels
-
การสลับพื้นที่ Selection ใช้คำสั่ง Select > Inverse เป็นการสลับพื้นที่ที่เลือกไว้กับพื้นที่ที่ไม่ได้เลือก เนื่องจากพื้นที่ที่ต้องการเลือกจริงๆ มีความซับซ้อนทำให้ยากที่จะ Selection จึงเลือกพื้นที่ส่วนอื่น แล้วใช้คำสั่ง Select > Inverseสลับพื้นที่กัน
ใบงานที่ 3.1 : ชุดเครื่องมือสำหรับเลือกพื้นที่ (Selection)
กิจกรรม
ให้นักเรียนใช้เครื่องสำหรับการสร้าง Selectionใน Toolbox
เลือกรูปคนไปใส่ยังรูปวิวธรรมชาติ จำนวน 1 ชิ้นงาน
(( กำหนดเวลา 30 นาที ))
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|