บทที่ 4 : แนะนำโปรแกรม Photoshop CS6 เบื้องต้น (2 ชั่วโมง)
บทที่ 5 : ส่วนประกอบของ Photoshop CS6 (2 ชั่วโมง)
โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบ นอกจากจะมีสีสันสวยงามขึ้นแล้ว ยังจัดการกับพาเนลหรือเครื่องมือที่จัดวางไม่เป็นระเบียบ ออกไปจากหน้าต่างการทำงานค่อนข้างมาก เช่น เพิ่มปุ่มคำสั่งและจัดเรียงปุ่มคำสั่งบางปุ่มใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องรู้จักกับส่วนประกอบที่สำคัญเพื่อให้สามารถค้นหาและเรียกใช้เครื่องมือได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับหน้าต่างโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ประกอบไปด้วยพาเนลและกล่องเครื่องมือที่วางอยู่บนพื้นที่ว่างซึ่งเปรียบเสมือนกับโต๊ะทำงาน ดังนั้นจึงสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งพาเนลและเครื่องมือไปยังจุดที่ต้องการได้ ส่วนประกอบสำคัญของหน้าต่างโปรแกรม มีรายละเอียดดังนี้
5.1 ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop CS6
Photoshop นั้นถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ หลายด้าน เช่น การสร้างตัวอักษร การตกแต่งภาพถ่าย
(Retouch) การสร้างภาพกราฟิก รวมถึงการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานให้สวยงามนั้น
ไม่ใช่เพียงแค่มีความคิดริเริ่มในเชิงสร้างสรรค์ (Idea) ที่ดี แต่จะต้องอาศัยความรู้และความชำนาญในการเลือกใช้เครื่องมือ
แต่ละอย่างภายในโปรแกรมให้เหมาะสม ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มใช้งานโปรแกรมเราควรรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ
ภายในโปรแกรมเสียก่อน
1. เมนูบาร์ (Menu Bar)
เป็นแถบสำหรับควบคุมโปรแกรม ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
File ใช้จัดการกับไฟล์รูปภาพ เช่น สร้างไฟล์ใหม่ เปิด ปิด บันทึกไฟล์ เป็นต้น
Edit รวมคำสั่งที่ใช้แก้ไขภาพ และปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม เช่น copy แก้ไขเครื่องมือ
Image คำสั่งที่ใช้ปรับแต่งภาพ เช่น สี แสง ขนาดของภาพ ขนาดของเอกสาร โหมดสี และอื่น ๆ
Layer คำสั่งที่ใช้จัดการกับเลเยอร์ ในด้านต่าง ๆ
select คำสั่งเกี่ยวกับการเลือกวัตถุ เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับคำสั่งอื่น ๆ
Filter การใส่ Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ
View คำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุ เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก
Window คำสั่งในการเลือกใช้ เปิด/ปิดอุปกรณ์เสริม
Help คำสั่งแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯและลายละเอียดของโปรแกรม
2. ออบชั่นบาร์ (Tool Options Bar)
เป็นส่วนที่ใช้เก็บเครื่องมือพื้นฐานในการทำงาน ในโปรแกรม
3. กล่องเครื่องมือ (Tools Bar)
ประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือแต่ละชิ้นมีคุณสมบัติดังนี้
Move ใช้สำหรับย้ายพื้นที่ที่เลือก หรือย้ายภาพในเลเยอร์หรือย้ายเส้นไกด์
Lasso ใช้เลือกพื้นที่บนภาพเป็นแนวเขตแบบอิสระ
Quick Serection Tool ใช้ระบายเพื่อเลือกพื้นที่ต้องการแก้ไข
Crop ใช้ตัดขอบภาพ
Eyedropper ใช้เลือกสีจากสีต่าง ๆ บนภาพ
Healing Brush ใช้ตกแต่งลบรอยตำหนิในภาพ
Brush ใช้ระบายลงบนภาพ
Clone Stamp ใช้ทำสำเนาภาพ โดย copy ภาพจากบริเวณอื่นมาระบาย
History Brush ใช้ระบายภาพด้วยภาพของขั้นตอนเดิมที่ผ่านมา หรือภาพของสถานะเดิมที่บันทึกไว้
Eraser ใช้ลบภาพบางส่วนที่ไม่ต้องการ
Gradient ใช้เติมสีแบบไล่ระดับโทนสีหรือความทึบ
Blur ใช้ระบายภาพให้เบลอ
Dodge ใช้ระบายเพื่อให้ภาพสว่างขึ้น
Pen ใช้วาดเส้นพาธ (Path)
Horizontal Type ใช้พิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความลงบนภาพ
Path Selection ใช้เลือกและปรับแต่งรูปทรงของเส้นพาธ
Rectangle ใช้วาดรูปทรงเรขาคณิตหรือรูปทรงสำเร็จรูป
Hand ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง ๆ ของภาพ
Zoom ใช้ย่อหรือขยายมุมมองภาพ
Set Foreground Color และ Set Background Color ใช้สำหรับกำหนดสี
Quick Mash เปิดแสดงหน้ากระดาษ แบบ Full screen
4. ไตเติ้ลบาร์ (Title Bar)
แสดงชื่อไฟล์ภาพที่เปิดใช้งานอยู่
5. พื้นที่การทำงาน (Work Space)
ส่วนที่ใช้ในการสร้างงาน โดยการเปิดไฟล์ภาพเพื่อแก้ไขบนพื้นที่ใช้งาน หรือวาดภาพใหม่ลงไปบนพื้นที่ใช้งาน
6. แถบสถานะ (Status Bar)
แสดงคุณสมบัติเกี่ยวกับภาพ เช่น ขนาดไฟล์ภาพ เป็นต้น
7. พาเลท (Palette)
แถบคำสั่งควบคุมและใช้กำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|