You are now being logged in using your Facebook credentials

www.krukikz.com

 

Font Size

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel

บทที่ 9 : ชุดเครื่องมือสำหรับการสร้างข้อความ

หน่วยที่ 3)  การใช้เครื่องมือใน Toolbox

ประกอบด้วยแผนการสอนทั้ง 5 บท ดังนี้

  บทที่ 8 : ชุดเครื่องมือสำหรับเลือกพื้นที่ (Selection)  (2 ชั่วโมง)
  บทที่ 9 : ชุดเครื่องมือสำหรับการสร้างข้อความ  (2 ชั่วโมง)  
  บทที่ 10 : ชุดเครื่องมือสำหรับการวาดภาพ   (2 ชั่วโมง)
  บทที่ 11 : ชุดเครื่องมิอสำหรับการรีทัชรูปภาพ  (2 ชั่วโมง)
  บทที่ 12 : คีย์ลัดของ Photoshop  (2 ชั่วโมง)
 
 
ปัจจุบันการสร้างงานกราฟิกจะนำตัวอักษรหรือข้อความมาประกอบกัน เพื่อสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น การทำโปสเตอร์โฆษณาสินค้าที่ติดอยู่ตามร้านค้าหรือตามรถโดยสารโปรแกรม Adobe PhotoShop จึงมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสร้างตัวอักษรหรือข้อความ ซึ่งสามารถใช้งานง่ายและสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อความกราฟิกให้เข้ากับชิ้นงานได้เป็นอย่างดี
 
 
1.  รู้จักกลุ่มเครื่องมือ Text สำหรับสร้างข้อความในงานกราฟิก
2.  เรียนรู้และเข้าใจการใช้งานเครื่องมือสำหรับการสร้างข้อความได้
3.  เรียนรู้ถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือสำหรับการสร้างข้อความในงานกราฟิกได้
 
 
 
ชุดเครื่องมือสำหรับการสร้างข้อความ
 

    ปัจจุบันการสร้างงานกราฟิกจะนำตัวอักษรหรือข้อความมาประกอบกัน เพื่อสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น การทำโปสเตอร์โฆษณาสินค้าที่ติดอยู่ตามร้านค้าหรือตามรถโดยสารโปรแกรม Adobe PhotoShop จึงมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสร้างตัวอักษรหรือข้อความ ซึ่งสามารถใช้งานง่ายและสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อความกราฟิกให้เข้ากับชิ้นงานได้เป็นอย่างดี

 

9.1 การใช้เครื่องมือ TEXT สร้างตัวอักษร

 

        กลุ่มของเครื่องมือ Text ประกอบด้วย Horizontal Type, Vertical Type, Horizontal Type Mask และ Vertical Type Mask ดังรูป

http://2.bp.blogspot.com/-DYIoovnFlNg/U-muFDtoJ3I/AAAAAAAAAf4/CqPUndI84UY/s1600/121122040602.png

 

[ กลับด้านบน ]


9.2 การใช้ HORIZONTAL TYPE TOOL

 

        การสร้างตัวอักษรโดยใช้ Horizontal Type Tool จะเป็นการสร้างตัวอักษรแบบธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

        1.สร้างไฟล์รูปภาพใหม่โดยคลิกที่เมนู File -> New เลือกขนาดของพื้นที่การทำงานตามต้องการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK

        2. คลิกที่เครื่องมือ Horizontal Type Tool จากนั้นนำไปคลิกบนพื้นที่การทำงานแล้วพิมพ์ข้อความลงไป เช่น คำว่า “กราฟิก”

        3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อความที่ออปชันบาร์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 


        มีรายละเอียดดังนี้

                 à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸‚้อความด้วย Type Tool ใน Photoshop Cs5

[ กลับด้านบน ]

   


 

9.3 การใช้ VERTICAL TYPE TOOL

 

        การสร้างตัวอักษรโดยใช้ Vertical Type Tool จะเป็นการสร้างตัวอักษรแบบแนวตั้ง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

        1.สร้างไฟล์รูปภาพใหม่โดยคลิกที่เมนู File -> New เลือกขนาดของพื้นที่การทำงานตามต้องการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK

        2. คลิกที่เครื่องมือ Vertical Type Tool จากนั้นนำไปคลิกบนพื้นที่การทำงานแล้วพิมพ์ข้อความลงไป เช่น คำว่า “Vertical”

        3. ปรับเปลี่ยนออปชันตามต้องการ

 

[ กลับด้านบน ]

 


9.4 การใช้ HORIZONTAL TYPE MASK TOOL

 

        การสร้างตัวอักษรโดยใช้ Horizontal Type Mask Tool จะเป็นการสร้างตัวอักษรแบบแนวนอนแต่จะเป็นลักษณะการ Selection ข้อความที่พิมพ์ไว้เพื่อให้สามารถเลือกพื้นที่หรือสีของข้อความได้ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

        1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการสร้างเป็นข้อความ

        2. คลิกที่เครื่องมือ Horizontal Type Mask Tool จากนั้นนำไปคลิกบนพื้นที่การทำงานแล้วพิมพ์ข้อความ เช่น คำว่า “GRAPHIC” สังเกตภาพจะจางลง ดังรูป

        3. กดปุ่ม Alt ที่คีย์บอร์ดแล้วคลิกที่เครื่องมือ Move Tool เพื่อคัดลอกข้อความ จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้ที่ข้อความแล้วลากไปวางบนตำแหน่งที่ต้องการ หรือ

        4. คลิกที่เมนู Edit -> Copy แล้วคลิกตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Edit ->Paste จะได้ผลลัพธิ์ดังรูป

 

[ กลับด้านบน ]


 

9.5 การใช้ VERTICAL TYPE MASK TOOL

 

        การสร้างตัวอักษรโดยใช้ Vertical Type Mask Tool จะเป็นการสร้างตัวอักษรแบบแนวตั้ง มีขั้นตอนการใช้เหมือนกับHorizontal Type Mask Tool 

 

[ กลับด้านบน ]


 

9.6 การปรับแต่งเลเยอร์ให้สวยงาม LAYER STYLE

 

        

การปรับแต่งเลเยอร์ด้วยรูปแบบต่างๆ ของเลเยอร์ หรือ ที่เรียกว่า Layer Style นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แต่ละแบบเมื่อนำมาใช้ในการปรับแต่งภาพแล้วจะทำให้ภาพที่ออกมาดูแปลกตา และสวยงามอย่างเหลือเชื่อ แต่ละภาพจะใช้ Laye Style ตัวเดียว หรือหลายตัวรวมกัน ก็แล้วแต่ความต้องการในการแต่งภาพ ของแต่ละภาพ หรือ ผู้แต่ง ไม่กำหนดตายตัว

 

 การใช้งาน Layer Style

            1.1 เลือก Layer ที่ต้องการ

            1.2 คลิกที่เมนู Layer เลือก Layer Style จะพบรายการเมนู ดังรูป

            1.3 คลิกที่รายการ Layer Style ที่ต้องการ

 

 รูปแบบของ Layer Style

            Inner Shadow = การเพิ่มเงาให้กับภาพ ลักษณะของเงาจะเป็นการเพิ่มกับส่วนภายในของภาพ

            Drop Shadow = การเพิ่มเงาให้กับภาพ ลักษณะของเงาจะเป็นการเพิ่มกับส่วนภายนอกของภาพ

            Bevel and Emboss = การเพิ่มระดับให้กับภาพ เช่น ความนูน ความโค้ง ความลึก ความเอียง โดยการใช้แสง และ เงา

            Outer Glow = การเพิ่มแสงให้กับภาพ ลักษณะของแสงจะเป็นการเพิ่มกับส่วนภายนอกของภาพ

            Inner Glow = การเพิ่มแสงให้กับภาพ ลักษณะของแสงจะเป็นการเพิ่มกับส่วนภายในของภาพ

            Color Overlay = การเพิ่มสีให้กับภาพ

            Gradient Overlay = การเพิ่ม Gradient ให้กับภาพ

            Pattern Overlay = การเพิ่ม Pattern ให้กับภาพ

            Stroke = การเพิ่มเส้นขอบให้กับภาพ

            Satin = การเพิ่มลวดลายให้กับภาพ

        

 การกำหนดค่าเพิ่มเติมด้วย Option ต่างๆ ของ Blending and Layer Style

        Blending Option : ส่วนนี้ต้องทำความรู้จัก เพราะ Layer Style แต่ละแบบจะถูกควบคุมด้วยส่วนนี้อีกครั้งหนึ่ง Option การตั้งค่าของ Blending Option และ Layer Style แต่ละแบบ ได้รวบรวมไว้ที่ด้านล่างให้แล้ว ต้องการใช้ตัวใหน ก็ให้ดูจากรายการเหล่านี้แล้วนำมาใช้ปรับแต่งภาพ ดังนี้

            Blend Mode = ใช้สำหรับตั้งค่า Blending ให้กับภาพ

            Opacity = ปรับค่าความทึบแสง และ เงา กระทบทุกส่วนของภาพ

            Angle = ปรับมุมของแสง หรือ เงา ที่มีผลกับภาพ (90 องศา ถ้าเปรียบเทียบกับนาฬิกา จะเท่ากับ 12 นาฬิกา)

            Fill Opacity = การปรับค่าความทึบแสง หรือ เงา แต่จะไม่กระทบถึง ส่วนที่เป็น Layer Style

            Knockout = มีตัวเลือกให้สามแบบ None, Shallow, Deep หน้าที่ของมันคือการทำให้มองทะลุลงไปยังเลเยอร์ล่างได้ ทั้งนี้การใช้งานจะต้องร่วมกับการปรับ Fill Opacity ด้วย

            Use Global Light = แสง และ เงา ที่มีผลเหมือนกันกับทุก Layer Style (ใช้กับ Drop Shadow, Inner Shadow, Bevel & Emboss)

            Distance = ระยะของแสง หรือ เงา

            Chokes = ปรับความชัด ความเข้ม ของ แสง หรือ เงา

            Spread = ปรับความชัด ความเข้ม ของ แสง หรือ เงา

            Size = ขนาดความเบลอ ความอ่อนโยน ของแสง หรือ เงา

            Contour = เส้นแสดงลักษณะรูปร่าง ของ แสง หรือ เงา (รูปภาพที่แสดงในไอคอนของ Contour หมายถึงลักษณะกร๊าฟ ส่วนที่เป็นสีเทา คือ ส่วนของเส้นกร๊าฟ ส่วนที่เป็นสีขาว เป็นส่วนที่อยู่นอกเหนือเส้นกร๊าฟ ด้านซ้ายแสดงส่วนที่อยู่นอกเหนือของ Effect ด้านขวาแสดงส่วนที่อยู่ในส่วนของ Effect ด้านล่างเป็นส่วนของ Transparency ด้านบนเป็นส่วนของ Opacity

            Anti-aliased = ความเรียบ ของ แสง หรือ เงา

            Noise = เป็นการทำให้ แสง หรือ เงา คล้ายกับการพ่นสเปรย์

            Layer Knocks Out Drop Shadow = ถ้าไม่เลือกออปชั่นนี้ จะทำให้การปรับแต่งของเลเยอร์นั้นแสดงเฉพาะส่วนที่เป็น Drop Shadow เท่านั้น

            Tecnique = ใช้ควบคุม ความอ่อนโยน หรือ ความกระด้าง ของ แสง หรือ เงา

            Range = ความกว้างของ เส้นแสดงลักษณะรูปร่าง (Contour)

            Source = ส่วนที่เริ่มแสดง แสง หรือ เงา

            Gross Contour = การปรับที่มีผลต่อความส่องสว่าง หรือ Luminosity

            Depth = ความลึกของ แสง และ เงา

            Direction = ทิศทางการแสดงผล ประกอบด้วย Up คือ แสง และ เงา จะส่องจากล่างขึ้นบน Down แสดงกลับกัน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับมุม (Angle) ของ แสง และ เงา ที่ตั้งค่าไว้ด้วย

            Soften = ปรับค่าความอ่อนโยนในการแสดง

            Altitude = ตำแหน่งความสูงของ แสง และ เงา ตำแหน่งยิ่งสูง แสง และ เงา ก็จะยิ่งน้อย

            Highlight Mode = ค่า Blend Mode ในส่วนของแสง

            Shadow Mode = ค่า Blend Mode ในส่วนของเงา

            Position = ตำแหน่งการแสดงผล

            Fill Type = ประเภทที่จะเติมให้กับภาพ เช่น เติม สี Gradient หรือ Pattern

            Color = สีที่จะเติม

            Gradient = การเติมสีแบบการไล่สี

            Pattern = การเติมภาพด้วยรูปแบบ Pattern

            Texture = คือการใส่ Pattern

            Scale = ขนาดของสี

            Make Default = การตั้งค่าการปรับ Layer Style แต่ละแบบให้เป็นค่าเริ่มต้น

            Reset to Default = การตั้งค่าใหม่สำหรับค่า Layer Style ที่มีการเปลี่ยนแปลง กลับไปใช้ค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมตั้งไว้

            Style = รูปแบบการแสดงของ Bevel and Emboss มีด้วยกันหลายแบบ

            Inner Bevel = แสดงจากขอบเข้าสู่ด้านใน

            Outer Bevel = แสดงจากขอบออกสู่ด้านนอก

            Emboss = แบ่งการแสดงระหว่างด้านใน และ ด้านนอก ฝั่งละ 50%

            Pillow Emboss = แสดงผลจากรูปแบบของ Emboss แต่จะะแสดงโดย แสง และ เงา ส่วนละ 50% ในขอบเดียวกัน

            Stroke Emboss = จะมีผลต่อเมื่อรูปนั้นมีการใส่ Stroke

        

 คีย์ลัดของ Layer Style ทำได้โดยการกดปุ่ม Ctrl + ตัวเลข

            Ctrl + 0 = Stroke

            Ctrl + 1 = Drop Shadow

            Ctrl + 2 = Inner Shadow

            Ctrl + 3= Outer Glow

            Ctrl + 4 = Inner Glow

            Ctrl + 5 = Bevel&Emboss

            Ctrl + 6 = Satin

            Ctrl + 7 = Color Overlay

            Ctrl + 8 = Gradient Overlay

            Ctrl + 9 = Pattern Overlay

[ กลับด้านบน ]


 

9.7  ขั้นตอนการใส่ข้อความในภาพอย่างง่าย

 

 

 

เริ่มจากเปิดภาพที่ต้องการใส่ตัวอักษรขึ้นมา

1.คลิกเลือกเครื่องมือ Type Tool 
2.คลิกในภาพบริเวณที่ต้องการพิมพ์


1.เลือกแบบอักษร ขนาด การจัดรูปแบบ และสีของอักษร
2.พิมพ์ข้อความที่ต้องการ


เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จ เราจะใส่ Effect ให้กับข้อความกัน โดยไปคลิกที่ด้านล่างของแถบ Layer เป็นการ Add Layer Style จะมีแถบขึ้นมาให้เลือก Style คลิกที่ Stroke เพื่อใส่เส้นขอบให้กับตัวอักษร


เมื่อคลิกที่ Stroke แล้วจะขึ้น Layer Style ให้เราตั้งค่าเส้นขอบ
Size คือขนาดของเส้นขอบ
Position คือตำแหน่งของเส้นขอบจะมี Outside, Inside และ Center
Blend Mode คือเลือก Mode ที่จะใช้ปกติจะเป็น Normal
Opacity คือความโปร่งใสของเส้นขอบ
Fill Type คือการเติมลักษณะเส้นขอบ มีให้เลือกคือ Color เป็นสีตามปกติ Gradient คือแบบไล่สี และ Pattern คือเป็นสีตามรูปแบบ จะมีแบบให้เลือก

ในที่นี้เราจะเติมแบบ Color คือเป็นสีพื้นๆ ธรรมดา เสร็จแล้วกด OK


ในกรณีที่ต้องการใส่ Style อย่างอื่นเพิ่มให้คลิกที่ Style นั้นที่แถบด้านข้างได้
หรือหากกด OK ไปแล้วและยังไม่ได้เลือก Effect อื่น ก็ไปเลือกใหม่ตามขึ้นตอนด้านบนได้

ในที่นี้เราจะคลิกเพิ่มเงา Drop Shadow


หลังจากที่เลือก Style ต่างๆ แล้ว ที่แถบ Layer จะปรากฏ Style หรือ Effects ที่เราใส่ทั้งหมดหากต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไข Effects ใด ก็ัดับเบิ้ลคลิกที่ Effects นั้นได้

ตามตัวอย่างเราจะไปตั้งค่าเงาใหม่ ก็ดับเบิ้ลคลิกที่ Drop Shadow

จะขึ้นหน้า Layer Style มาให้เราตั้งค่า
Blend Mode คือการเลือก Mode ต่างๆ ปกติจะเป็น Multiply และเลือกสีของเงา
Opacity คือความโปรงแสงของเงา
Angle คือการกำหนดทิศทางของเงา
Distance คือระยะทางที่เงาทอดตัว หรือระยะห่างระหว่างเงากับตัวอักษรนั่นเอง
Spread คือการขยายของเงารอบๆ ถ้าค่ามากจะทำให้เงาไม่เป็นตัวอักษรที่อ่านได้
Size คือขนาดของเงา
Contour คือรูปแบบลักษณะของเงา
Noice คือ ความชัดของเงา หากเพิ่ม Noice จะมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ

ในกรณีที่ต้องการเพิ่มรูปภาพหรือ Logo ที่ทำไว้แล้ว 
1.ให้เปิดภาพนั้นเข้ามา
2.คลิกเลือกเครื่องมือ Move Tool
3.คลิกภาพที่เปิดขึ้นมาแล้วลากมาวางลงในภาพ

สามารถย่อขยายภาพที่นำมาใส่โดยกด Ctrl T หรือ Edit> Free Transform

ตัวอักษรก็สามารถย่อขยายขนาดได้โดยใช้คำสั่งนี้เช่นกัน(อย่าลืมคลิกเปลี่ยน Layer ที่ต้องการทำด้วย)

จัดวางตำแหน่งตามที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือ Move Tool ก็จะได้ภาพที่มีตัวอักษรตามต้องการ

จากนั้นอย่าลืม Save เป็น .JPEG

การใส่ตัวอักษรทำได้ไม่ยาก และมีวิธีที่จะทำตัวอักษรในหลายๆ รูปแบบ

ไว้จะเขียนวิธีการทำตัวอักษรในรูปแบบต่างๆ ไว้ในตอนต่อๆ ไปนะคะ

 


 

ตัวอย่างภาพที่ใส่ตัวอักษรและรูปภาพแล้ว

 

       

 

 
ใบงานที่ 3.2  :  ชุดเครื่องมือสำหรับการสร้างข้อความ
 
 
กิจกรรม
 
 
(( กำหนดเวลา 30 นาที ))
 
 
 

Follow us on

  • Grab our RSS feed
  • Joomla Fan Club

About US

เว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ วิชาคอมพิวเตอร์  krukikz.com จัดทำโดย นางสาวกฤติยา พลหาญ  ตำแหน่ง ครูชำนาญการ  โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

You are here