การเติมสีสันให้เอกสาร
ผลการแสดง ที่เกิดขึ้น บน เว็บเพจ เราจะพบว่าเอกสาร ทั่วไปแล้วตัวอักษร ที่ปรากฎ บนจอภาพ จะเป็น ตัวอักษรสีดำ
บน พื้น สีเทา ถ้าเรา ต้องการ ที่จะ เปลี่ยนสี ของตัวอักษร หรือ สีของ จอภาพ เราสามารถ ทำ ได้โดย การกำหนด แอตทริบิวต์ (Attribute) ของตัวอักษร สิ่งที่ต้องการนี้ จะเป็น กลุ่มตัว เลขฐาน 16 จำนวน 3 ชุด โดยชุดที่ หนึ่ง ทำหน้าที่ แทนค่าสีแดง ชุดที่สอง ทำหน้าที่ แทนสีเขียว และชุดที่สาม ทำหน้าที่แทนสี น้ำเงิน ข้อมูล ในตาราง ต่อไปนี้จะแสดง สีพื้นฐาน และรหัสสี ที่สามารถแสดงได้ทุกเว็บเพจ
สี
รหัสสี
ขาว
#FFFFFF
ดำ
#000000
เทา
#BBBBBB
แดง
#FF0000
เขียว
#00FF00
น้ำเงิน
#0000FF
ใน บางครั้งถ้าเราไม่ต้องการใส่รหัสสีเป็นเลขฐานเราก็สามารถใส่ชื่อ สีลงไปได้เลย ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงชื่อ สีที่ Internet Explorer สนับสนุนแต่ Netscape ไม่สนับสนุน
AQUA
BULE
GRAY
LIME
NAVY
PURPLE
SILVER
WHITE (สีขาว)
BLACK
FUCHSIA
GREEN
MAROON
OLTVE
RED
TEAL
YELLOW
สีของพื้นฉากหลัง
รูปแบบ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="#FF0000">
เราใช้ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ ให้เป็นส่วนหนึ่งของ <BODY> ซึ่งจะทำให้เกิดสีตามที่เราเลือก ลักษณะเป็นฉากสีอยู่ข้างหลัง
สีของตัวอักษรบนเว็บ
รูปแบบ Text=#รหัสสี
ตัวอย่าง <BODY TEXT="#00FF00">
เรา กำหนดเช่นเดียวกับการทำสีของพื้นฉากหลังโดยให้เป็นส่วน หนึ่งของ <BODY> แต่ในการใส่รหัสสีนั้นเร าต้องดู ให้เหมาะสมกับฉากหลังด้วยเช่น <BODY TEXT="#00FF00"> ในการ ทำสีของ ตัวอักษรนี้สีจะปรากฎบนเว็บเปราเซอร์ เป็นสีเดียวตลอด
สีของตัวอักษรเฉพาะที่
รูปแบบ <FONT COLOR="#สีที่ต้องการ">...</FONT>
ตัวอย่าง <font color="#FF0000">สีแดง</font>
คำ สั่งนี้เราใช้ในการเปลี่ยนสีของตัวอักษรในส่วนที่เราต้องการให้เกิดสีสันแตก ต่างไปจากสีตัวอักษร อื่น ๆ เช่น <FONT COLOR="#FF0000">สีแดง</FONT>ตัวหนังสือคำว่าสีแดงก็จะเป็นสีแดง ตามที่เราต้องการทันที
สีของตัวอักษรที่เป็นจุดคลิกเมาส์
รูปแบบ LINK="#รหัสสี" ALINK="#รหัสสี" VLINK"#รหัสสี"
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="000000" TEXT="#F0F0F0" LINK="#FFFF00" ALIGN="#0077FF" VLINK="#22AA22">
กำหนดอยู่ในส่วนของ BODY โดยกำหนดให้
LINK = สีของตัวอักษรก่อนมีการคลิก
ALIGN = สีของตัวอักษรขณะถูกคลิก
VLINK = สีของอักษรหลังจากคลิกแล้ว
รูปแบบ ของตัวอักษร
ในบทนี้ เราจะมาทราบถึงวิธีการทำแบบตัวอักษรหลาย ๆ แบบ เช่น ตัวหนา ตัวเอน ตัวใหญ่ ตัวเล็ก ซึ่งลักษระต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เว็บเพจ ของเราสวยงามยิ่งขึ้น
หัวเรื่อง
รูปแบบ <Hx>ข้อความ</Hx>
ตัวอย่าง <H1>หัวข้อใหญ่สุด</H1>
ใน การกำหนดขนาดให้หัวเรื่องนั้นมีการกำหนด ไว้ 6 ระดับตั้งแต่ 1 - 6 โดย x แทนตัวเลขแต่ละลำดับโดย H1 มีขนาดใหญ่ที่สุด H6 เล็กที่สุดเมื่อต้องการใช้หัวเรื่องที่มีขนาดตัวอักษรเท่าใดเขียนอยู่ ระหว่าง <Hx>....</Hx>
ขนาดตัวอักษร
รูปแบบ <FONT SIZE=x>ข้อความ</FONT>
ตัวอย่าง <FONT SIZE=2>Bcoms.net</FONT>
เรา สามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรให้แตกต่างกันได้ ภายในบรรทัดเดียวกัน โดยเราใช้ <FONT SIZE=value> มากำหนด โดยที่ value เป็นตัวเลขแสดงขนาด ตัวอักษร 7 ขนาด ตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งมีขนาด ใหญ่ ตั้งแต่ -7 ไปจนถึง 7
ตัวหนา (Bold)
รูปแบบ <B>ข้อความ</B>
ตัวอย่าง <B>Bcoms.net</B>
จะทำให้ข้อความที่อยู่ใน <B>....</B> มีความหนาเกิดขึ้น เช่น Bcoms.net
ตัวเอน (Itatic)
รูปแบบ <I>ข้อความ</I>
ตัวอย่าง <I>Bcoms.net</I>
ทำให้ข้อความที่อยู่ใน<I>....</I> เกิดเป็นตัวเอนขึ้น เช่น Bcoms.net
ตัวขีดเส้นใต้ (Underline)
รูปแบบ <U>ข้อความ</U>
ตัวอย่าง <U>Bcoms.net</U>
ทำให้ข้อความที่อยู่ใน <U>.....<U> มีเส้นขีดอยู่ใต้ตัวอักษรเกิดขึ้น เช่น Bcoms.net
ตัวอักษรมีขนาดคงที่ (Typewriter text)
รูปแบบ <TT>ข้อมความ</TT>
ตัวอย่าง <TT>Bcoms.net</TT>
ทำให้ ข้อความ ที่อยู่ใน<TT>.....</TT> มีลักษณะเป็น fixed space เกิดขึ้น เช่น Bcoms.net
แบบของตัวอักษร
รูปแบบ <FONT FACE="font name>ข้อความ</FONT>
c <FONT FACE="AngsanaUPC">Bcoms.net</FONT>
Font name เป็นชื่อของ Font ที่เราต้องการให้เป็น เช่น <FONT FACE="AngsanaUPC"> Bcoms.net</FONT> และเราสามารถใส่ชื่อ Font หลาย ๆ ตัวได้เพื่อบางครั้ง Browser ไม่มี Font ตามต้องการโดยให้คั้นด้วยตัว (,)
ขนาด Font ทั้งเอกสาร
รูปแบบ Basefont size="X">
ตัวอย่าง <Basefont size=3>
เป็น การกำหนดขนาดของตัวอักษรในโฮมเพจให้มีขนาด เท่ากันทั้งเอกสาร เพื่อสะดวกเราจะได้ไม่ต้องกำหนดบ่อย ๆ ปกติแล้วจะกำหนดขนาดเป็น 3 โดยไม่ต้องมีตัวปิดเหมือนคำสั่งอื่น ๆ (X แทนตัวเลข)
ตัวอักษรแบบพิเศษ
รูปแบบ
< แทนด้วย <
> แทนด้วย >
& แทนด้วย &
" แทนด้วย "
เว้นวรรค แทนด้วย
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|